วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม
มาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน3 ถือว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
1. พระสงฆ์จำนวน 1250 ซึ่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ ได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
2. พระสงเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น แลได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง การบวชชนิดนนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
3. พระสงฆ์จำนวน 1250 ได้เดินทางมาประชุมพร้อมกันโดยมได้นัดหมาย
4. วันที่มาประชุมกันตรงกับวันเพ็ญเดือน มาฆะ (วันเพ็ญเดือน3) ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ประการได้แก่ 1. ละเว้นความชั่วทั้งปวง 2. ทำความดีให้ถึงพร้อม 3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
ประวัติในการประกอบพีธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
การมีประเพณีมาฆบูชานี้ แต่เดิมไม่เคยทำมา พึ่งเกืดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆบุรมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆเต็มบริบูรณ์ เป็นวันที่พระอรหันต์จำนวน 1250 รูปได้มาประชุมพร้อมกันด้วยองค์สี่ประการ เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เป็นการประชุมใหญ่และอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา จึงได้ถือเอาเหตุนั้นกอบการสักการะบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ 1250 รูปนั้น ให้เป็มที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสังเวช
การประกอบพิธีเวียนเทียนในวันมาฆบูชา
ประชาชนจะจัดเตรียมเครื่องสัการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ไปพร้อมกันที่วัดในเวลาเย็นหรือค่ำ เพื่อประกอบพิธีมาฆบูชา การประกอบพิธีกรรมจะทำที่โบสถ์ เพราะหลังจากฟังโอวาทและสวดมนต์เสร็จแล็ว จะทำการเวียนเทียนรอบโบสถ์ ในการเดินเวียนเทียนรรอบโบสถ์ จะกระทำ3รอบ โดยเวียนไปทางขวาเรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฏ ในขณะเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบและแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยเสียงดังหรือเดินแซงผู้ที่เดินนำอยู่ข้างหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น